วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประวัติเมืองนครราชสีมา

ประวัติเมืองนครราชสีมา (โคราช)
   
   ประวัติจังหวัดนครราชสีมาเมืองนครราชสีมา เป็นเมืองโบราณเมืองหนึ่งในอาณาจักรไทยแต่เดิมตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ในท้องที่อำเภอสูงเนิน ห่างจากตัวเมืองปัจจุบันประมาณ 31 กิโลเมตร คือ เมือง"โคราช" หรือ "โคราฆะ" กับเมือง "เสมา" ทั้งสองเมืองดังกล่าว เคยเจริญ รุ่งเรืองมาก ในสมัยขอมแต่ปัจจุบันเป็นเมืองร้าง ตั้งอยู่ริมฝั่งลำตะคอง สมัยกรุงศรีอยุธยา ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2199-2231) โปรดให้สร้างเมืองสำคัญที่อยู่ชายแดน ให้มี ป้อม ปราการ จึงให้ย้ายเมืองที่ ตำบลโคราช อำเภอสูงเนิน มาสร้างเมืองที่มีป้อมปราการและคูน้ำล้อมรอบขึ้นใหม่ ในที่ซึ่งอยู่ ในปัจจุบัน แล้วเอานามเมืองใหม่ทั้งสอง คือเมืองเสมา กับเมืองโคราฆะ มาผูกเป็นนามเมืองใหม่ เรียกว่าเมืองนครราชสีมา แต่คนทั่วไป เรียกว่า เมืองโคราช เมืองนี้กำแพงก่อด้วยอิฐ มีใบเสมาเรียงรายตลอด มีป้อมกำแพงเมือง 15 ป้อม 4 ประตู สร้างด้วยศิลาแลง มีชื่อดังต่อไปนี้
     - ทางทิศเหนือ ชื่อประตูพลแสน นัยหนึ่งเรียก "ประตูน้ำ"
     - ทางทิศใต้ ชื่อประตูชัยณรงค์ นัยหนึ่งเรียก "ประตูผี"
     - ทางทิศตะวันออก ชื่อ "ประตูพลล้าน" นัยหนึ่งเรียกประตูตะวันออก


ประตูเมืองทั้ง 4 แห่งนี้ มีหอรักษาการอยู่ข้างบนทำเป็นรูปเรือน (คฤหาสน์) หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผามีช่อฟ้าใบระกาเหมือนกัน ทุกแห่ง ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 ทรงจัดการปกครองหัวเมืองทางแผ่นดินสูงตอนริมแม่น้ำโขง เป็นประเทศราช 3 เมือง คือ เมืองเวียงจันทร์ เมืองคมพนม และเมืองนครจำปาศักดิ์ ให้เมือนครราชสีมา ปกครองเมืองกรมการป่าดง และเมืองดอนที่ไม่ขึ้นต่อ ประเทศราช ทั้ง 3 และกำกับตรวจตราเมืองประเทศราชเหล่านั้นด้วย แล้วยกฐานะเมืองนครราชสีมาเป็นเมืองเอก ผู้สำเร็จราชการ มียศเป็นเจ้าพระยา เจ้าพระยาเมืองนครราชสีมาคนแรกชื่อเดิมคือ ปิ่น ณ ราชสีมา และในรัชกาลนี้เมืองนครราชสีมา ได้นำช้าง เผือก 2 เชือก ที่คล้องได้ในเขตอำเภอภูเขียว ซึ่งน้อมเกล้าถวายและได้โปรดเกล้าฯให้ขึ้นระวางเป็นพระอินทร์ไอยรา และพระเทพ กุญชรช้างเผือก เมื่อส่งเข้าเมืองยังคงเก็บรักษาไว้ในศาลเจ้าพ่อช้างเผือกอยู่ริมถนนมิตรภาพ ตรงข้ามโรงเรียนสุรนารีวิทยา ในสมัยรัชกาลที่ 4 เมืองนครราชสีมา มีความเจริญมากขึ้น เป็นศูนย์กลางค้าขายของหัวเมืองทางตะวันออก เพราะมีสินค้าที่พ่อค้า ต้องการมาก เช่น หนังสัตว์ เขาสัตว์ นอแรด งา ไหม พวกพ่อค้าเดินทางมาซื้อสินค้าเหล่านี้แล้วส่งไปจำหน่ายที่กรุงเทพฯ และนำ สินค้าจากกรุงเทพฯมาจำหน่ายในหัวเมืองตะวันออก โดยตลาดกลางอยู่ที่เมืองนครราชสีมา และในปี พ.ศ. 2434 ( ร.ศ. 1110) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้โปรดให้รวบรวมหัวเมืองในเขตที่ราบสูงเป็น 3 มณฑล คือ

1. มณฑลลาวพวน มีเมืองหนองคาย เป็นที่ว่าการมณฑล
2. เมืองลาวกาว มีเมืองนครจำปาศักดิ์ เป็นที่ว่าการมณฑล
3. เมืองลาวกลาง มีเมืองนครราชสีมา เป็นที่ว่าการมณฑล
  ต่อมาเมื่อได้จัดหัวเมืองเป็นมณฑลเทศาภิบาลทั่วทั้งพระราชอาณาเขตได้เปลี่ยนนามมณฑลทั้ง 3 เสียใหม่ คือมณฑลลาวพวน เป็นมณฑลอุดร มณฑลลาวกาว เป็นมณฑลร้อยเอ็ด มณฑลลาวกลางเป็นมณฑลนครราชสีมา ในสมัยรัชกาลที่ 7 พ.ศ. 2475 หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย แล้วได้ยกเลิกการจัดหัวเมืองมณฑล เทศาภิบาล และจัดใหม่เป็นภาคมณฑลนครราชสีมา เป็นภาคที่ 8 มีหัวเมืองอยู่ในความปกครอง จังหวัด คือ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดศรีษะเกษ และจังหวัดอุบลราชธานี ตั้งที่ว่าการอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา ในปี พ.ศ. 2476 ได้เกิดกบฏบวรเดช โดยมีพลเอกพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เป็นหัวหน้า ทำการยึด เมืองนครราชสีมา เป็นกองบัญชาการ เพื่อรวบรวมกำลังพล ในการที่จะเข้ายึดพระนคร เพื่อบังคับให้คณะรัฐบาลของ พลเอกพระยา พหล พลพยุหเสนา ลาออก ในการก่อกบฏครั้งนี้ ข้าราชการในเมืองนครราชสีมาส่วนหนึ่ง ถูกควบคุมตัวไว้ ส่วนประชาชนถูกหลอกลวงว่าได้เกิดเหตุการณ์ ไม่สงบขึ้นในพระนคร ทหารจึงจำเป็นต้องไประงับเหตุการณ์ ต่อเมื่อได้รับทราบแถลงการณ์ของรัฐบาล จึงเข้าใจว่าการกระทำของ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช เป็นกบฏ ดังนั้น ข้าราชการที่ถูกคุมขังจึงพยายามหลบหนีเอาตัวรอดไปอยู่เมืองไซ่ง่อน ในวันที่ 25 ตุลาคม 2476 รัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระนางเจ้าพระบรมราชินนยารถ ได้เสด็จเยี่ยมพสนิกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งแรก และได้ประทับแรมที่ จังหวัดนครราชสีมา เมื่อ พ.ศ. 2498 และได้เสด็จพระราชดำเนินมาเยี่ยมพสกนิกรชาวเมือง นครราชสีมาอีกหลายครั้ง 
สมัยกรุงศรีอยุธยาสมัยกรุงศรีอยุธยา

 ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. ๒๑๙๙-๒๒๓๑) โปรดให้สร้างเมืองสำคัญที่อยู่ชายแดนให้มีป้อม ปราการ สำหรับป้องกัน รักษาราชอาณาจักรหลายเมือง เช่นนครศรีธรรมราช พิษณุโลก เพชรบูรณ์ เป็นต้น
จึงให้ย้ายเมืองที่ตำบลโคราช อำเภอสูงเนิน มาสร้างเป็นเมืองมีป้อมปราการ คือ เมืองเสมา กับ เมืองโคราฆะปุระ มาผูกเป็นนามเมืองใหม่ เรียกว่า เมืองนครราชสีมา แต่คนทั้งหลายคงยังเรียกชื่อเมืองเดิมติดปากอยู่ จึงมักเรียกกันทั่วไปว่า เมืองโคราช เมืองนี้กำแพงก่อด้วยอิฐมีใบเสมาเรียงรายตลอดมีป้อมตามกำแพงเมือง ๑๕ ป้อม ประตู ๔ ประตู สร้างด้วยศิลาแลงมีชื่อดังต่อไปนี้

ทางทิศเหนือชื่อประตูพลแสน นัยหนึ่งเรียกประตูน้ำ
ทางทิศใต้ชื่อประตูไชยณรงค์ นัยหนึ่งเรียกประตูผี
ทางทิศตะวันออกชื่อประตูพลล้าน นัยหนึ่งเรียกประตูตะวันออก
ทางทิศตะวันตกชื่อประตูชุมพล

ประตูเมืองทั้ง ๔ แห่งนี้มีหอรักษาการอยู่ข้างบนทำเป็นรูปเรือน (คฤห) หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา มีช่อฟ้าใบระกาเหมือนกันทุกแห่ง แต่ปัจจุบันคงเหลือรักษาไว้เป็นแบบอย่างแห่งเดียวเท่านั้น คือประตูชุมพล ซึ่งกรมศิลปากรได้ขึ้นบัญชีสงวนรักษาไว้เป็นโบราณสถานเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๐ นอกนั้นทั้งประตูและกำแพงเมืองได้ถูกรื้อสูญหมดแล้วในหนังสือเที่ยวตามทางรถไฟพระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรง-ราชานุภาพ เล่าถึงตำนานเมืองว่า ในทำเนียบครั้งแผ่นดิน สมเด็จพระนารายณ์ เมืองนครราชสีมา มีเมืองขึ้น ๕ เมือง คือ
เมืองนครจันทึก อยู่ทางทิศตะวันตก เมือง ๑ เมืองชัยภูมิ อยู่ทางทิศเหนือ เมือง ๑ เมืองพิมายอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เมือง ๑ เมืองนางรอง อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เมือง ๑ต่อมาตั้งเมืองเพิ่มขึ้นอีก ๙ เมือง คือ ทางทิศเหนือ ตั้งเมืองบำเหน็จณรงค์ ๑ เมืองจตุรัส ๑ เมืองเกษตรสมบูรณ์ ๑ เมืองภูเขียว ๑ เมืองชนบท ๑ เมือง รวม ๕ เมือง
ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งเมืองพุทไธสง ๑ เมือง ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ตั้งเมืองประโคนชัย ๑ เมือง
รัตนบุรี ๑ เมืองทางทิศใต้ ตั้งเมืองปักธงชัย ๑ เมือง เมืองนครราชสีมาจึงมีเมืองขึ้น ๑๔ เมืองด้วยกัน เมื่อสร้างเมืองใหม่ในครั้งนั้น สมเด็จพระนารายณ์ทรงเลือกสรรข้าราชการที่เป็นคนสำคัญออกไปครอง
ปรากฏว่าโปรดให้พระยายมราช (สังข์) ไปครองเมืองนครราชสีมา พร้อมกับโปรดให้พระยารามเดโช ไปครองเมืองนครศรีธรรมราช ส่วนเมืองอื่นหาปรากฏนามผู้ไปครองเมืองไม่ ครั้นสมเด็จพระนารายณ์ สวรรคต เมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๑ พระเพทราชาได้ราชสมบัติ พระยายมราชและพระยารามเดโช ไม่ยอมเป็นข้าพระเพทราชาต่างตั้งแข็งเมืองนครราชสีมาและเมืองนครศรีธรรมราชขึ้นด้วยกัน กองทัพกรุงศรีอยุธยาจึงยกขึ้นไปทางดงพระยาไฟ พระยายมราชต่อสู้รักษาเมืองนครราชสีมา อยู่ได้พักหนึ่ง แต่สิ้นกำลังต้องหนีไปอยู่กับพระยารามเดโช ณ เมืองนครศรีธรรมราช ครั้งกองทัพกรุง ฯ ลงไปตีเมืองนครราชสีมาได้ในครั้งพระยายมราช (สังข์) ตั้งแข็งเมืองนั้น คงกวาดต้อนผู้คนและเก็บเครื่องศัตราวุธ ซึ่งมีไว้สำหรับรักษา เมืองนำมาเสียโดยมาก โดยหวังจะมิให้มีผู้คิดแข็งเมืองได้อีก
ต่อมาในรัชกาลนั้นเอง มีลาวชาวหัวเมืองตะวันออกคนหนึ่ง ชื่อบุญกว้าง ตั้งตัวเป็นผู้วิเศษกับพรรคพวกเพียง ๒๓ คน กล้าเข้ามาถึงเมืองนครราชสีมา พักอยู่ที่ศาลาแห่งหนึ่งนอกเมือง แล้วให้พระยานครราชสีมาคนใหม่ออกไป
พระยานครราชสีมาขี่ช้างออกไป (เดิมเห็นจะตั้งใจออกไปจับ) ครั้นถูกอ้ายบุญกว้างขู่ พระยานครราชสีมากลับครั่นคร้าม (คงเป็นเพราะพวกไพร่พลพากันเชื่อวิชาอ้ายบุญกว้าง) เห็นหนีไม่พ้นต้องยอมเป็นพรรคพวกอ้ายบุญกว้าง แล้วลวงให้ยก ลงมาตั้งซ่องสุมผู้คนที่เมืองลพบุรี พระยานครราชสีมาเป็นไส้ศึกอยู่จนกองทัพกรุง ฯ ยกขึ้นไปถึง จึงจับตัวอ้ายบุญกว้างกับพรรคพวกได้ เห็นจะเป็นเพราะที่เกิดเหตุคราวนี้ ประกอบกับที่การรบในกรุง ฯ เป็นปกติสิ้นเสี้ยนหนามแล้ว
จึงกลับตั้งกำลังทหารขึ้นที่เมืองนครราชสีมา ดังแต่ก่อน ต่อมาปรากฏในหนังสือพระราชพงศาวดารว่า เจ้าเมืองหลวงพระบางยกกองทัพมาตีเมืองเวียงจันทน์ เมืองเวียงจันทน์ขอให้กรุงศรีอยุธยาช่วย จึงโปรดให้พระยา สระบุรีเป็นนายทัพหน้า ให้พระยานครราชสีมา (ซึ่งเข้าใจว่าตั้งใหม่อีก ๑ คน) เป็นแม่ทัพใหญ่ ยกขึ้นไปช่วยเมืองเวียงจันทน์ กองทัพยกขึ้นไปถึง พวกเมืองหลวงพระบางก็ยำเกรง เลิกทัพกลับไป หาต้องรบพุ่งไม่ แต่นี้ไปก็ไม่ปรากฏเรื่องเมืองนครราชสีมาในหนังสือพระราชพงศาวดาร จนแผ่นดินสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ เมื่อพม่ามาตีกรุงศรีอยุธยาครั้งหลัง ปรากฏว่าเกณฑ์ของกองทัพเมืองนครราชสีมาลงมาช่วยป้องกันรักษากรุง ฯ เดิมให้ตั้งค่ายอยู่ที่วัดเจดีย์แดงข้างใต้เพนียด แล้วให้พระยารัตนาธิเบศร์ คุมลงมารักษาเมืองธนบุรี ครั้นกองทัพพม่ายกมาจากเมืองสมุทรสงครามเมื่อเดือน ๑๐ ปีระกา พ.ศ. ๒๓๐๘ พระยารัตนาธิเบศร์หนีกลับขึ้นไปกรุงฯ พวกกองทัพเมืองนครราชสีมาเห็นนายทัพไม่ต่อสู้ข้าศึก
ก็พากันกลับไปบ้านเมืองหาได้รบพุ่งกับพม่าไม่ ต่อมาเมื่อพม่ากำลังตั้งล้อมพระนครศรีอยุธยา ในปีจอ พ.ศ. ๒๓๐๙ มีเรื่องราวเกี่ยวกับเมืองนครราชสีมาอีกตอนหนึ่ง เหตุด้วยกรมหมื่นเทพพิพิธ ซึ่งเป็นโทษ ต้องเนรเทศไปอยู่ ณ เมืองจันทบุรี ชักชวนพวกชาวเมืองชายทะเลทางตะวันออกยกเป็นกองทัพมาหวังจะมารบพม่าแก้กรุงศรีอยุธยา กรมหมื่นเทพพิพิธมาถึงเมืองปราจีนบุรี ให้กองทัพหน้ามาตั้งปากน้ำโยธกา แขวงจังหวัดนครนายก พม่ายกไปตีกองทัพหน้าแตก กรมหมื่นเทพพิพิธ เห็นจะสู้พม่า ไม่ได้ ก็เลยขึ้นไปทางแขวงเมืองนครราชสีมา ไปตั้งที่ด่านโคกพระยาพิบูลสงคราม ผู้ว่าราชการเมืองนครนายก กับหลวงนรินทร์ (ซึ่งได้เข้าเป็นพวกกรมหมื่น เทพพิพิธ) ไปตั้งอยู่ที่เมืองนครจันทึกอีกพวกหนึ่ง กรมหมื่นเทพพิพิธคิดจะชักชวนพระยานครราชสีมาให้เกณฑ์กองทัพลงมารบพม่า แต่พระยานครราชสีมาคนนั้น เป็นอริอยู่กับพระพิบูลสงคราม ผู้ว่าราชการเมืองนครนายก แต่งคนร้ายให้มาลอบฆ่าพระพิบูลสงครามกับหลวงนรินทร์เสีย รมหมื่นเทพพิพิธจึงให้ลอบไปฆ่าพระยา นครราชสีมาเสียบ้าง แล้วเข้าไปตั้งอยู่ในเมืองนครราชสีมา ขณะนั้นหลวงแพ่ง น้องพระยานครราชสีมาหนีไปอยู่เมืองพิมายไปเกณฑ์คนยกกองทัพมา จับกรมหมื่น เทพพิพิธไปคุมตัวไว้ที่เมืองพิมายครั้นกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าข้าศึก เมื่อวันอังคารขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๕ ปีกุน พ.ศ. ๒๓๑๐ สิ้นราชวงศ์ที่จะครองพระราชอาณาจักรบ้านเมืองเกิดเป็นจลาจล ผู้มีกำลังฝีมือหวังจะเป็นใหญ่ในประเทศไทยต่อไป ก็คิดตั้งเป็นเจ้ามีรวมด้วยกัน ๕ พรรคคือ

1.สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ครั้งยังเป็นพระยาวชิรปราการ เจ้าเมืองกำแพงเพชร ลงไปตั้งตัวเป็นใหญ่อยู่ที่เมืองจันทบุรี มีหัวเมืองอยู่ในอำนาจ ตั้งแต่ชายแดนกรุงกัมพูชาขึ้นมาจนถึงเมืองชลบุรี และต่อมาถึงข้างขึ้นเดือน ๑๒
ปีกุน พ.ศ. ๒๓๑๐ ได้ยกกองทัพขึ้นมาโจมตีทหารพม่าซึ่งรักษาอยู่ที่เมืองธนบุรี กับค่ายโพธิ์สามต้นที่พระนครศรีอยุธยา พม่าพ่ายแพ้จนหมดสิ้น แล้วปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ ตั้งแต่งเมืองธนบุรีเป็นราชธาน
2.เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) ตั้งตัวเป็นใหญ่ที่เมืองพิษณุโลกมีอำนาจปกครองตั้งแต่เมืองพิชัยลงมาถึงเมืองนครสวรรค์
3.พระสังฆราชา (เรือน) อยู่ที่วัดพระฝาง เมืองสวางคบุรี
(ปัจจุบันเป็นอำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์) ตั้งตัวเป็นใหญ่ขึ้น ทั้งยังอยู่ในสมณเพศ เรียกกันว่าพระฝาง มีอำนาจปกครองหัวเมืองที่อยู่ข้างเหนือเมืองพิชัย และติดต่อกับแดนเมืองแพร่ เมืองน่าน เมืองหลวงพระบาง
4.พระปลัด (เข้าใจกันว่าชื่อหนู) ผู้รั้งเมืองนครศรีธรรมราช ตั้งตัวเป็นใหญ่ที่เมืองนครศรีธรรมราช เรียกกันว่า เจ้านคร
มีอำนาจปกครองหัวเมือง ที่ติดต่อกับชายแดนมลายูขึ้นมาจนถึงเมืองชุมพร
5.กรมหมื่นเทพพิพิธ ซึ่งพระยาพิมายคุมไว้ที่เมืองพิมาย และยกขึ้นเป็นใหญ่ ณ เมืองนั้น เรียกว่าเจ้าพิมาย มีอำนาจปกครองตลอดอาณาเขตของ นครราชสีมา เช่น เมืองจันทึก ปักธงชัย บุรีรัมย์ พุทไธสง ชัยภูมิ และภูเขียว เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น